วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

“ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สัญจร 2017”

รมว.ดิจิทัลฯ นำขบวนคาราวาน ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สัญจร 2017” สู่พี่น้อง จ.ตรัง
จันทร์ 24 กรกฎาคม 2560
24/7/60

รมว.ดิจิทัลฯ นำขบวนคาราวาน ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สัญจร 2017” สู่พี่น้อง จ.ตรัง
              ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานเปิดงาน ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สัญจร 2017” ที่จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดที่ 5 ในจำนวน 12 จังหวัด ที่ขบวนคาราวานดังกล่าวจะเดินทางไปเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ ประชาชนได้รับทราบและปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล โดยภายในงานได้เชิญวิทยากรชื่อดังมาให้ความรู้ในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ การสร้างเพจขายสินค้า และ การใช้เครื่องมือดิจิทัลให้ทันโลกในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ยังมีบูธนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ มาจัดแสดงและจัดกิจกรรมให้ประชาชน ได้ร่วมสนุกและลุ้นรับของรางวัลมากมาย ซึ่งการจัดคาราวานดังกล่าวได้ให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลที่ไม่ใช่เรื่องไกล ตัวอีกต่อไป เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มีความแข็งแกร่งในอนาคต เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2560 ณ ลานหน้าห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จังหวัดตรัง อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทความที่ 1 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้น     ได้ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย